โขน
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=giIlOvKCQN8&t=627s
วิวัฒนาการโขน
โขน ปรับปรุงมาจาก การแสดงหนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และการเล่นกระบี่กระบองนั้น
1. การแสดงหนังใหญ่
การเล่นหนังใหญ่ เป็นมหรสพขึ้นชื่อลือชา มีมาตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ บุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย ซึ่งแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 2294 - 2301 เป็นระยะเวลา 7 ปี ปลายรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงมหรสพ ที่แสดงฉลองพระพุทธบาท ในตอนกลางคืนว่า มีการละเล่นหนังใหญ่อยู่ด้วย การละเล่น หนังใหญ่นั้น เขานำแผ่นหนังวัว (บางท่านก็ว่ามีหนังควายด้วย) มาฉลุสลัก เป็นรูปตัวยักษ์ ลิง พระ นาง ตามเรื่อง รามเกียรติ์
การเล่นหนังใหญ่ นอกจากจะมีตัวหนังแล้ว ยังต้องมีคนเชิดหนัง คนเชิดหนัง คือคนที่นำตัวหนัง ออกมาเชิด และยกขาเต้นเป็นจังหวะ นอกจากนี้ ยังต้องมีผู้พากย์ - เจรจา ทำหน้าที่ พูดแทนตัวหนัง และมีวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงด้วย สำหรับสถานที่ แสดงหนังใหญ่ นิยมแสดงบน สนามหญ้าหรือบนพื้นดิน มีจอผ้าขาว ราว ๆ 1ุุ6 เมตร ขึงโดยมีไม้ไผ่ หรือไม้กลม ๆ ปักเป็นเสา 4 เสา รอบ ๆ จอผ้าขาว ขลิบริมด้วยผ้าแดง ด้านหลังจอจุดไต้ ให้มีแสงสว่าง เพื่อเวลา ที่ผู้เชิดหนัง เอาตัวหนัง ทาบจอทางด้านใน ผู้ชมจะได้แลเห็นลวดลาย ของตัวหนังได้ชัดเจนสวยงาม เมื่อแสดงหนังใหญ่นาน ๆ เข้า ทั้งผู้ชมและผู้เชิดหนัง ก็คงจะเกิดความเบื่อหน่ายผู้ชม คงจะเบื่อที่ตัวหนังใหญ่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ไม่ได้ฉลุสลัก เป็นรูปร่างอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ส่วนผู้เชิดหนัง ก็อาจจะเบื่อหน่าย ที่จะนำตัวหนัง ออก ไปเชิด เนื่องจาก ตัวหนังบางตัว มีน้ำหนักมาก การที่ต้อง จับยกขึ้น เชิดชูอยู่เป็น เวลานาน ๆ ก็ทำให้ เมื่อยแขน ตัวหนังที่มีน้ำหนักมาก ๆ บางตัวมีขนาดใหญ่ และสูงขึ้นถึง 2 เมตร เช่น หนังเมือง หรือหนัง ปราสาท จึงคิดจะออกไปแสดงแทน ตัวหนังใหญ่ แต่ก็ยังหา เครื่องแต่งกายให้ เหมาะสม กับตัวละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ที่แบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ และลิง ไม่ได้
โขนจึงนำการเต้นยกขาขึ้นลง ตามแบบ ท่าเชิดหนังใหญ่ มาเป็นท่าเต้น ของการแสดง ที่คิดขึ้นใหม่ และนำเรื่องรามเกียรติ์ ที่เคยแสดงหนังใหญ่ มาเป็น เรื่องสำหรับแสดง โดยมีการพากย์ เจรจาตามแบบ ที่เคยแสดงหนังใหญ่
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=S5GJCSW-jY8
2. การชักนาคดึกดำบรรพ์
ในราชพิธีอินทราภิเษกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีตำนานว่า สมัยโบราณมีการกวนน้ำอมฤต เพื่อเทวดาต้องการอยู่คงกะพัน โดยการกวนกระเศียรสมุทร เพื่อให้ได้น้ำอัมฤตเพื่อความอยู่คงกระพัน โดยการนำเขามนเทียรคีลีเป็นไม้กวน และกระเศียรสมุทรเป็นกระทะ และนำพระญานาคหรือพระญาวาสุกรีมาพัน โดยอศูรชักทางด้านหัว เทวดาวานรชักทางด้านหาง ต่อมาพระยานาคคายพิษออกมา แล้วพระอิศวรเห็น แล้วดื่มน้ำทำให้พระอิศวรคอดำ หลังจากน้ำมีการกวนน้ำต่อไป ต่อมาใช้ไม้กวนคือเขามนเทียรคีลีหรือเขาไกรราษณ์ เขาพระสุเมรุทะลุไปใต้โลก พระนารายณ์ต้องรามาวตารเป็นเต่ามารองรับ ในพระนารายณ์สิบปางเรียกว่า “กุละมาวตาร” สรุปว่าเทวดาวานรมีความว่องไวที่ได้ดื่มน้ำอมฤต แล้วมียักษ์อีกตัวได้ดื่มแล้วพระจันทร์มองได้บอกพระนารายณ์จึงใช้จักรตัดตัวยักษ์ขาดครึ่งตัว มีชื่อเรียกว่า “ราหู” ราหูจะมีความโกรธแค้นพระจันทร์จึงเรียกเรียกว่า “ราหูอมจันทร์”
สมัยกรุงศรีอยุธยา การทำพิธีอินทราภิเษกโดยการนำการกวนน้ำอมฤตมีแสดงเรียกว่า การชักนาคดึกดำบรรพ์ โดยการแสดงมีการสร้างภูเขาในสนาม แล้วนำพญานาคมาพันภูเขาโดยให้คนแต่งตัวเป็น เทวดา อศูร พารี สุครีพ สมัยก่อนไม่มีการสวดหัวโขน แต่จะมีการแต่งหน้าหรือสวมหน้ากากแค่ครึ่งเดียว ต่อยอดแหลมที่ใช้เป็นเทวดา หรือวานร พิธีอินทราภิเษก ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการแสดงแค่สองครั้ง
โขนจะได้กระบวนการแต่งกายจากการแสดงการชักนาคดึกดำบรรพ์ ในสมัยที่ได้แบบอย่าง เครื่องแต่งตัว มาจากการเล่นชักนาคดึกบรรพ์ คงจะไม่ใช่ เป็นแบบหัวโขน ที่สวมปิดหน้าทั้งหมด เช่นในปัจจุบันนี้ ในสมัยนั้น คงจะเป็นแบบหน้ากากสวมปิดเพียง ใบหน้า ให้เห็นเป็นรูปยักษ์ ลิง หรือเทวดามากกว่า ส่วนศีรษะก็คงจะสวม เครื่องสวมหัว แบบเดียวกัน ทุกคน บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะสวมลอมพอก แบบผู้ที่แต่งกายเป็นเทวดา เข้ากระบวนแห่ก็เป็นได้ ครั้นต่อมา จึงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำเป็นหัวโขนครอบทั้งศีรษะ เช่นในปัจจุบันนี้ และเข้าใจว่าหัวโขน ที่สวมครอบทั้งศีรษะ คงจะมีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงธนบุรี หรือไม่ก็ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
หมายเหตุ : เหตุที่พระศอของพระศิวะเป็นสีดำ ความครั้งหนึ่งพระวิษณุดำรัสให้มีการกวนเกษียรสมุทรขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอัมฤตให้เหล่าเทวดา โดยมีพระศิวะเป็นประธาน เอาเขาพระสุเมรุเป็นไม้กวนทะเลน้ำนม โดยมีพระวิษณุแปลงเป็นเต่าลงไปยันไม้คน เพื่อไม่ให้โลกถูกทำลาย โดยมีพญานาควาสุกรีเป็นเชือกพันเขาพระสุเมรุไว้ พระวิษณุออกอุบาย ให้ฝ่ายเทวดาจับปลายหางนาควาสุกรี ด้านหัวนาควาสุกรีนั้นเป็นเหล่าอสูร พระศิวะทรงดื่มยาพิษทั้งหมด เพื่อให้โลกมีสันติสุข ตั้งแต่นั้นมาพระศอของพระศิวะจึงมีสีดำ ท่านจึงได้ฉายานามอีกหนึ่งว่า นิลกัณฐ์”
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=dEExdnzXKnY
3. กระบี่กระบอง
สมัยโบราณมีการรบ ต่อมาเว้นจากการรบจะมีการประลองเพลงจะมีกระบวนการต่อสู้มีการซ้อมเพลงดาบ เพลงทวน ต่อมามีการพัฒนาเป็นการเล่นของกระบี่กระบอง
โขนจะได้รับกระบวนการต่อสู้ นำมาใช้ในท่ารบ ท่าตรวจพลของโขน ยกตัวอย่าง ท่ากระบี่กระบองท่ากราย โขนจะนำมาใช้ในการฉายพระขัณฐ์ ท่าเลื้อ จะได้ทีการต่อสู้ของกระบี่กระบองมาใช้ในการแสดงโขน กระบวนการตรวจพล
ที่มา : http://youtube.com/watch?v=RTpYdvYVJvI
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประวัติความเป็นมา
" โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานจากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงการเล่นโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทางเข้ากับ เสียงซอและเครื่องดนตรีอื่นๆ ผู้เต้นสวมหน้ากากและ ถืออาวุธ
โขนพัฒนามาจากศิลปะการแสดงหลายแขนงด้วยกัน คือ นำวิธีเล่นและวิธีแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ นำท่าต่อสู้โลดโผน ท่ารำท่าเต้นมาจาก กระบี่กระบอง และนำศิลปะการพากย์ การเจรจา เพลงและ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบกิริยาอาการของผู้แสดงที่เรียกว่า เพลงหน้าพาทย์มาจากการแสดงหนังใหญ่ ลักษณะสำคัญ ของโขนอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้น ตัวพระ ตัวนาง และตัวเทวดา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบท ให้ มีคนพากย์และเจรจา แสดงเรื่องรามเกียรติ์แต่เพียง เรื่องเดียว"
โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางครั้งสะกดด้วย ฬ เป็นคำว่า"โขฬะ" หรือ "โขฬ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขล ตามชื่อของเครื่องดนตรี
คำว่าโขนในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
คำว่าโขนในภาษาอิหร่าน มีที่มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (อังกฤษ: Surat khwan) หมายความถึง ตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมีผู้ขับร้องและให้เสียงแทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน (อังกฤษ:Khon) มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
คำว่าโขนในภาษาเขมร เป็นการกล่าวถึงโขนในพจนานุกรมภาษาเขมร ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
จากข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า "โขน หมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน"หรือหมายความถึงไม้ใช้ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไปที่เรียกว่า " โขนเรือ" หรือใช้สำหรับเรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่าเรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลายใน ลิลิตพยุหยาตรา หรือหมายความถึงส่วนสุดทั้งสองข้างของรางระนาดหรือฆ้องวงใหญ่ที่มีลักษณะงอนขึ้นว่า "โขน"
----------------------------------------------------------------------------------------------
ประเภทของโขน
ประเภทของโขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1) โขนกลางแปลง
2) โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว (โขนนอนโรง)
3) โขนหน้าจอ
4) โขนโรงใน
5) โขนฉาก ( โขนชักรอก )
1) โขนกลางแปลง
โขนกลางแปลง คือ การเล่นโขนบนพื้นดิน ณ กลางสนาม ไม่ต้องสร้างโรงให้เล่น นิยมแสดงตอนยกทัพรบกัน โขนกลางแปลงได้วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เรื่องกวนน้ำอมฤต
" เรื่องมีอยู่ว่า เทวดาและอสูรใคร่จะเป็นอมตะ จึงไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์จึงแนะนำให้กวนน้ำอมฤต โดยใช้เขามนทคิรีเป็นไม้กวน เอาพระยาวาสุกรีเป็นเชือกพันรอบเขา เทวดาชักทางหาง หมุนเขาไปมา พระยาวาสุกรีพ่นพิษออกมา พระนารายณ์เชิญให้ พระอิศวรดื่มพิษนั้นเสีย พระอิศวรจึงมีศอสีนิลเพราะพิษไหม้ ครั้นกวนต่อไป เขามนทคิรีทะลุลงไปใต้โลก พระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคิรีไว้ ครั้นได้น้ำอมฤตแล้ว เทวดาและอสูรแย่งชิงน้ำอมฤตกันจนเกิดสงคราม พระนารายณ์จึงนำน้ำอมฤตไปเสีย พวกอสูรไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึงเป็นใหญ่ในสวรรค์ พระนารายณ์เมื่อได้น้ำอมฤตไปแล้ว ก็แบ่งน้ำอมฤตให้เทวดาและอสูรดื่ม พระนารายณ์แปลงเป็นนางงามรินน้ำอมฤตให้เทวดา แต่รินน้ำธรรมดาให้อสูร ฝ่ายราหูเป็นพี่น้องกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์แต่ราหูเป็อสูร ราหู เห็นเทวดาสดชื่นแข็งแรงเมื่อได้ดื่มน้ำอมฤต แต่อสูรยังคงอ่อนเพลียอยู่ เห็นผิดสังเกต จึงแปลงเป็นเทวดาไปปะปนอยู่ในหมู่เทวดา จึงพลอยได้ดื่มน้ำอมฤตด้วย พระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงแอบบอกพระนารายณ์ พระนารายณ์โกรธมากที่ราหูตบตาพระองค์ จึงขว้างจักรไปตัดกลางตัวราหู ร่างกายท่อนบนได้รับน้ำอมฤตก็เป็นอมตะ แต่ร่างกายท่อนล่างตายไป ราหูจึงเป็นยักษ์มีกายครึ่งท่อน ราหูโกรธและอาฆาตพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก พบที่ไหนก็อมทันที เกิดเป็นราหูอมจันทร์หรือจันทรคราสและสุริยคราส ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้ามาเทศนาให้ราหูเลิกพยาบาทจองเวร ราหูจึงได้คลายพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ออก "
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=lJ2GdHYZK0c
การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก มีปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา โขนกลางแปลงนำวิธีการแสดงคือ การจัดกระบวนทัพ การเต้นประกอบหน้าพาทย์ มาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ แต่เปลี่ยนมาเล่นเรื่อง รามเกียรติ์ และเล่นตอนฝ่ายยักษ์และฝ่ายพระรามยกทัพรบกัน จึงมีการเต้นประกอบหน้าพาทย์ และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้างแต่ไม่มีบทร้อง
2) โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว
โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรงมีหลังคา ไม่มีเตียงสำหรับตัวโขนนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉาก (ม่าน) มีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวแทนเตียง มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ มีปี่พาทย์ 2 วง เพราะต้องบรรเลงมาก ตั้งหัวโรงท้ายโรง จึงเรียกว่าวงหัวและวงท้าย หรือวงซ้ายและวงขวา
วันก่อนแสดงโขนนั่งราวจะมีการโหมโรง และให้พวกโขนออกมากระทุ้งเส้าตามจังหวะเพลง พอ จบโหมโรงก็แสดงตอนพิราพออกเที่ยวป่า จับสัตว์กินเป็นอาหาร พระรามหลงเข้า สวนพวาทอง (สวนมะม่วง) ของพราพ แล้วก็หยุดแสดง พักนอนค้างคืนที่โรงโขน รุ่งขึ้นจึงแสดงตามเรื่องที่เตรียมไว้ จึงเรียกว่า "โขนนอนโรง"
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=6vZxrHMNvS8
3) โขนหน้าจอ
โขนหน้าจอ คือ โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมเขาขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่ ในการเล่นหนังใหญ่นั้น มีการเชิดหนังใหญ่อยู่หน้าจอผ้าขาว การแสดงหนังใหญ่มีศิลปะสำคัญ คือการพากย์และเจรจา มีดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดง ผู้เชิดตัวหนังต้อง เต้นตามลีลาและจังหวะดนตรี นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมามีการปล่อยตัวแสดงออกมาแสดงหนังจอ แทนการเชิดหนังในบางตอน เรียกว่า "หนังติดตัวโขน" มีผู้นิยมมากขึ้น เลยปล่อยตัวโขนออกมาแสดงหน้าจอตลอด ไม่มีการเชิดหนังเลย จึงกลายเป็นโขนหน้าจอ และต้องแขวะจอเป็นประตูออก 2 ข้าง เรียกว่า "จอแขวะ"
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=yxvW0NEdog8
4) โขนโรงใน
โขนโรงใน คือ โขนที่นำศิลปะของละครในเข้ามาผสม โขนโรงในมีปี่พาทย์บรรเลง 2 วงผลัดกัน การแสดงก็มีทั้งออกท่ารำ เต้น ทีพากย์และเจรจาตามแบบโขน กับนำเพลงขับร้องและเพลงประกอบกิริยาอาการ ของดนตรีแบบละครใน และมีการนำระบำรำฟ้อนผสมเข้าด้วย เป็นการปรับปรุงให้วิวัฒนาการขึ้นอีก การผสมผสานระหว่างโขนกับละครในสมัยรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 ทั้งมีราชกวีภายในราชสำนักช่วยปรับปรุงขัดเกลา และประพันธ์บทพากย์บทเจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก
โขนที่กรมศิลปากรนำออกแสดงในปัจจุบันนี้ ก็ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=bM8F-pUb5Ak
5 ) โขนฉาก
โขนฉาก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีผู้คิดสร้างฉากประกอบเรื่องเมื่อแสดงโขนบนเวที คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ส่วนวิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน แต่มีการแบ่งเป็นชุดเป็นตอน เป็นฉาก และจัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง จึงมีการตัดต่อเรื่องใหม่ไม่ให้ย้อนไปย้อนมา เพื่อสะดวกในการจัดฉาก
กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด เช่น ชุดปราบกากนาสูร ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ชุดชุดนางลอย ชุดนาคบาศ ชุดพรหมาสตร์ ชุดศึกวิรุญจำบัง ชุดทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ ชุดสีดาลุยไฟและปราบบรรลัยกัลป์ ชุดหนุมานอาสา ชุดพระรามเดินดง ชุดพระรามครองเมือง
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=lovCoHgKEdY
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การคัดเลือกและฝึกหัดโขน
การคัดเลือกผู้แสดงและฝึกหัดโขน แต่เดิมจะใช้นักเรียนชายทั้งหมดตามแบบประเพณีโบราณ อาจารย์ผู้ทำการฝึกหัดจะทำการคัดเลือกผู้แสดงที่จะหัดเป็นตัวละครต่าง ๆ เช่น พระราม นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ เป็นต้น ตามปกติในการแสดงโขน จะประกอบด้วยตัวละครที่มีลักษณะแตกต่างกัน 4 จำพวกได้แก่
- ตัวพระ
- ตัวนาง
- ตัวยักษ์
- ตัวลิง
ซึ่งตัวโขนแต่ละจำพวกนี้ ผู้ฝึกหัดจะต้องมีลักษณะรูปร่าง เฉพาะเหมาะสมกับตัวละคร มีการใช้สรีระร่างกาย และท่วงท่ากิริยาเยื้องย่างในการร่ายรำ การแสดงท่าทางประกอบการพากย์ การแต่งกายและเครื่องประดับที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การแต่งกายโขน
การแต่งกายของผู้แสดงโขน แบ่งเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายมนุษย์ เทวดา (พระ - นาง)
2. ฝ่ายยักษ์
3. ฝ่ายลิง
จากหนังสือเรื่อง “การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่อง” ของกรมศิลปากร แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเครื่องแต่งกายโขน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
1. ศิราภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับศีรษะของตัวโขน ได้แก่
- ตัวพระ ได้แก่ ชฎา
- ตัวนาง ได้แก่ มงกุฎกษัตรีย์
- ตัวยักษ์ ได้แก่ ศีรษะยักษ์
- ตัวลิง ได้แก่ ศีรษะลิง
2. ถนิมพิมพาภรณ์ หมายถึง เครื่องประดับกาย ได้แก่
- กำไลเท้า หรือ ข้อเท้า
- เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง
- สังวาล(รวม ตาบทิศ และตาบหลัง)
- ทับทรวง
- กำไลแผง หรือทองกร
- ธำมรงค์ หรือแหวน -แหวนรอบ - ปะวะหล่า
3. พัสตราภรณ์ หมายถึง เครื่องนุ่งห่มที่เป็นผ้า ได้แก่
- สนับเพลา หรือกางเกง
- ผ้านุ่ง หรือภูษา หรือพระภูษา
- ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง
- ห้อยหน้า หรือชายไหว(รวมสุวรรณกระถอบ ซึ่งปักลายเป็นชิ้นเดียวกัน)
- เสื้อ หรือฉลององค์
- รัดสะเอว หรือรัดองค์
- กรองคอ หรือนวมคอ หรือกรองศอ
1. การแต่งกายตัวพระ
อธิบายภาพ
1. กำไลเท้า 2. สนับเพลา
3. ผ้านุ่ง ในวรรณคดี เรียกว่า ภูษา หรือพระภูษา 4. ห้อยข้าง หรือเจียระบาด หรือชายแครง
5. เสื้อ ในวรรณคดีเรียกว่า ฉลององค์ 6. รัดสะเอว หรือรัดองค์
7. ห้อยหน้า หรือชายไหว 8. สุวรรณกระถอบ
9. เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง 10. กรองคอ หรือ นวมคอ ในวรรณคดีเรียกว่า กรองศอ
11. ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ในวรรณคดีเรียกว่า ทับทรวง 12. อินทรธนู
13. พาหุรัด 14.สังวาล
15. ตาบทิศ 16. ชฎา
17. ดอกไม้เพชร(ซ้าย) 18.จอนหู ในวรรณคดีเรียกว่า กรรเจียก หรือกรรเจียกจร
19.ดอกไม้ทัด(ขวา) 20. อุบะ หรือพวงดอกไม้(ขวา)
21. ธำมรงค์ 22. แหวนรอบ
23.ปะวะหล่ำ 24. กำไลแผง ในวรรณคดีเรียกว่า ทองกร
หมายเหตุุ
1. แขนขวา - แสดงเสื้อแขนสั้น จะไม่มีไม่มีอินทรธนู จะนิยมใช้สำหรับพระระบำ
2. แขนซ้าย - แสดงเสื้อแขนยาวมีอินทรธนู ใช้สำหรับการแสดงโขน หรือตัวละคนที่เป็น
ลักษณะการแต่งกายของตัวพระ
สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ส่วนล่างสวมสนับเพลา ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลัง ไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น ทั้งเทวดาและมนุษย์ แต่งกายเหมือนกันหมดคือ แต่งยืนเครื่องอย่างพระ ผิดกันแต่สีเสื้อเปลี่ยนไปตามสีกายประจำตัวละคร เช่น
ในสมัยโบราณตัวพระจะสวมหน้าด้วยเครื่องประดับศีรษะ จึงมีหลายลักษณะ ของเทวดาเป็นมงกุฎยอดต่างๆ เช่นพระอินทร์เป็นมงกุฎเดินหน ท้าวมาลีวราชเป็นมงกุฎยอดชัย หรือมงกุฎน้ำเต้าของมนุษย์เป็นมงกุฎชัย หรือชฎาพระ
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=QMAQPORr8hM
การสาธิตวิธีการนุ่งผ้าแบบจีบโจงหางสงส์
การนุ่งผ้าแบบหางหงส์ ใช้สำหรับตัวละครที่เป็นตัวพระ
ในที่นี้หมายถึงพระเอก หรือตัวแสดงที่เป็นมนุษย์ผู้ชาย เทวดาผู้ชาย
2. การแต่งกายตัวนาง
อธิบายภาพ
1. กำไลเท้า 2. เสื้อในนาง
3. ผ้านุ่ง ในวรรณคดี เรียกว่า ภูษา หรือพระภูษา 4. เข็มขัด
5. สะอิ้ง 6. ผ้าห่มนาง
7. นวมนาง ในวรรณคดีเรียกว่า กรองศอ 8. จี้นาง หรือ ตาบทับ ในวรรณคดีเรียกว่า ทับทรวง
9. พาหุรัด 10. แหวนรอบ
11. ปะวะหล่ำ 12. กำไลตะขาบ
13. กำไลสวม ในวรรณคดีเรียกว่า ทองกร 14. ธำมรงค์
15. มงกุฎ 16. จอนหู ในวรรณคดีเรียกว่า กรรเจียก หรือกรรเจียกจร 17. ดอกไม้ทัด (ซ้าย) 18. อุบะ หรือพวงดอกไม้ (ซ้าย)
ลักษณะการแต่งกายของตัวนาง
สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่องส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้าหรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอสังวาล พาหุรัด เป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูรจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของ ตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง ตัวนางจะแต่งยืนเครื่องนางหมดทุกตัว ผิดกันแต่เครื่อง สวมศีรษะ คือ พระชนนีทั้งสามของพระราม นางสีดา มเหสีพระอินทร์ นางมณโฑนางเทพอัปสร นาง วานริน นางบุษมาลี ตลอดจนนางสุพรรณมัจฉานางสุวรรณกันยุมา นางตรีชฎาสวมรัดกล้ายอด นางเบญกายสวมรัดเกล้าเปลว ส่วนนางกาลอัคคี สวมมงกุฎยอดนาคนางกำนัลสวม กระบังหน้านางสุพรรณมัจฉามีหางปลาติดไว้ที่ส่วนหลังใต้เข็มขัดด้วยเพราะมีสัญชาติเป็นปลา
การนุ่งผ้าแบบจีบหน้านาง
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=21Rwm7Zx19c
3. การแต่งกายตัวยักษ์
แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ คือ พญายักษ์ เสนายักษ์ และเขนยักษ์ พญายักษ์ เช่น ทศกัณฐ์อินทรชิต ไมยราพ พิเภก สหัสเดชะ แสงอาทิตย์ จะนุ่งผ้าเยียรบับทับสนับเพลาเช่นเดียวกันกับตัวพระแต่ไม่ไว้โจงหางหงส์ แต่จะมีผ้าปิดก้นห้อยลงมาจากเอว เครื่องประดับส่วนใหญ่เช่นเดียวกันกับตัวพระ เพียงแต่มีเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือตัวพญายักษ์ชั้นผู้ใหญ่ เช่น ทศกัณฐ์ มักจะมีรัดอกคาดอยู่ด้วย เสนายักษ์นุ่งผ้าเกี้ยว นอกนั้นก็เหมือนพญายักษ์ เพียงแต่ไม่มีรัดอก เขนยักษ์สวมเสื้อผ้าธรรมดา นุ่งผ้าลาบทับสนับเพลา ผ้าปิดก้นไม่มี คาดเอวด้วยผ้า มีกรองคอทำด้วยผ้าธรรมดาสวมศีรษะเขียนลาย พญายักษ์และเสนายักษ์แต่ละตัวมีสีกายและสีหน้าประจำตัวมีหัวโขนเฉพาะของตัว มียอดของส่วนมงกุฎแต่งต่างกันออกไป บางพวกก็ไม่มีมงกุฎเรียกว่า “ยักษ์โล้น” นางอดูลปิศาจ เครื่องแต่งตัวบางทีไม่ใช้ยืนเครื่องอย่างนางแต่รวบชายล่างขึ้นโจงกระเบน ดูก็เหมือนยักษ์อื่นๆ คาดเข็มขัดแต่ไม่มีห้อยหน้าเจียระบาดอย่างพญายักษ์ สวมเสื้อแขนยาวอย่างยักษ์ผู้ชายแต่มีห่มนางทับบนเสื้อ เครื่องประดับอื่นๆ คล้ายตัวนางทั่วๆไปส่วนนางยักษ์ที่เป็นมเหสีหรือธิดาของพญายักษ์ แต่งกายยืนเครื่องนางสวมมงกุฎหรือรัดเกล้า ไม่สวมหัวโขน
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=6MNoPyIfYoo
การแต่งกายก้นแป้นมี 2 แบบ คือ การแต่งกายก้นแป้นแบบยักษ์ และการแต่งกายก้นแป้นแบบลิง
แต่ที่ยกตัวอย่างมานั้นคือการแต่งกายนุ่งผ้าก้นแป้นแบบยักษ์ ซึ่งใช้กับตัวละครที่เป็นยักษ์
4. การแต่งกายตัวลิง
แบ่งออกเป็นพวกๆ ได้แก่ พญาวานร เช่น หนุมาน สุครีพ องคต ฯลฯ พวกสิบแปดมงกุฎเช่น มายูร เกยูร เกสรมาลา ฯลฯ พวกเตียวเพชร เช่น โชติมุก พวกจังเกียงและพวกเขนลิง พวกพญาวานรและพวกอื่นๆ ยกเว้นเขนลิง แต่งตัวยืนเครื่องและสวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ไม่มีอินทรธนูนุ่งผ้าไม่จีบโจงหางหงส์ มีผ้าปิดก้นห้อยเอวลงจากด้านหลังเช่นเดียวกับยักษ์และมีหางห้อยอยู่ข้างใต้ ผ้าปิดก้น เฉพาะตัวมัจฉานุมีหางเป็นปลาผิดจากลิงอื่นๆลิงเหล่านี้แต่ละตัวมีหัวโขนเฉพาะของตัว ทั้งที่เป็นมงกุฎยอดต่างๆและทั้งที่ไม่มีมงกุฎเรียกว่า “ ลิงโล้น ” เสื้อลิงนั้นใช้ดิ้นและเลื่อมปักทำเป็นเส้นขด สมมติว่าเป็นขนตามตัวของลิง ไม่ทำเป็นลายดอกอย่างเสื้อตัวพระหรือยักษ์ และไม่มีอินทรธนู เขนลิงสวมเสื้อแขนยาวผ้าธรรมดา กรองคอก็เป็นผ้าธรรมดา นุ่งกางเกงคาดเข็มขัดมีหางและผ้าปิดก้น สวมศีรษะเขนลิง
ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=PcFp1anGs6Y
การสาธิตวิธีการนุ่งผ้าแบบจีบโจงก้นแป้น (ตัวลิงหนุมาน)
การแต่งกายก้นแป้นมี 2 แบบ คือ การแต่งกายก้นแป้นแบบยักษ์ และการแต่งกายก้นแป้นแบบลิง
แต่ที่ยกตัวอย่างมานั้นคือการแต่งกายนุ่งผ้าก้นแป้นแบบลิง ซึ่งใช้กับตัวละครที่เป็นลิง
5. การแต่งกายตัวเบ็ดเตล็ด
ตัวละครอื่นๆ เป็นต้นว่าฤาษีต่างๆ เช่น พระวสิษฐ์ พระสวามิตร พระโคบุตร เป็นต้น ล้วนแต่งกายแบบฤาษีเช่นเดียวกับเรื่องอิเหนาแต่ศีรษะคงสวมหัวโขน เป็นประจำช้างเอราวัณ สวมศีรษะช้างสามเศียร สีขาวมงกุฎยอดน้ำเต้า ส่วนช้างธรรมดาก็ใช้เช่นเดียวกับในเรื่องอิเหนาม้าอุปการสวมหน้าม้าสีดำ ปากแดง ส่วนมากลากราชรถอื่นๆ มีศีรษะ ม้าสวม มีหลายสีครอบไว้เหนือกระหม่อมหรืออาจใช้มาแผงห้อยไว้ที่ข้างลำตัว อย่างเรื่องอิเหนาก็ได้ นอกจากนี้ก็มีตัวเบ็ดเตล็ดอื่นๆซึ่งล้วนแต่สวมศีรษะสัตว์โดยได้จำลองเลียนแบบลักษณะของจริงมาหรือประดิษฐ์ให้ตรงกับในบท เช่น กวางทอง พญาครุฑเหยี่ยว ปลา พญานาค มหิงสา เป็นต้น