นาฏยศัพท์

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ 

    "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร 

     "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่างๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้นๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์  

ประเภทของนาฏยศัพท์

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์

หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่

1. นาฏยศัพท์ที่เกี่ยวกับการใช้มือ

                     1.1.วง  หมายถึง การตั้งลำแขนให้เป็นวงโค้งคล้ายครึ่งวงกลม  แขนต้องงอแต่ก็ไม่งอข้อศอกมากเกินไปเพราะจะทำให้วงไม่สวยงาม    การตั้งวงให้ตั้งมือยืนนิ้วทั้ง 4เ รียงชิดติดกัน หลบหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย หันฝ่ามือออกนอกตัว หักข้อมือด้านหลังมือเข้าหาลำแขน  ชนิดของการตั้งวง   มี  4  ชนิด   ดังนี้   

                                    1.1.1.วงบน ปลายนิ้วระดับแง่ศรีษะ ตัวนางลดลงระดับหางตา วงพระกันวงกว้างกว่าวงนางเล็กน้อย

                                    1.1.2.วงกลาง ปลายนิ้วระดับไหล่หรือต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย 

                                                

                         

                                 1.1.3.วงล่าง ปลายนิ้วอยู่เพียงระดับเอวหรือชายพก

           

                          

                        

                                       1.1.4.วงหน้า ตั้งวงมาด้านหน้า ปลายนิ้วอยู่ระดับปาก

                         

                         

                   1.2.จีบ หมายถึง การใช้นิ้วมือจรดเข้าหากัน โดยใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดกับข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้ ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดตรึงออกไปคล้ายพัด หัวแม่มือควรงอเล็กน้อยพองาม การจีบต้องหักข้อมือเข้าหาลำแขนเสมอโดยหักเข้าด้านฝ่ามือ   ชนิดของการจีบ การจีบมี 5 ลักษณะดังนี้

                          

                                    1.2.1.จีบหงาย มือจีบหงายขึ้น หักข้อมือเข้าหาลำแขน ลำแขนอยู่ตำแหน่งใดก็ได้

                                   1.2.2.จีบคว่ำ คว่ำตัวจีบลง แขนงอหรือตรึงสุดแค่ท่ารำ หักข้อมือเข้าหาลำแขน

                                   1.2.3.จีบส่งหลัง เป็นการจีบโดยส่งลำแขนไปด้านหลัง มือจีบหงาย

       1.2.5.จีบปรกหน้า เช่นเดียวกับปรกข้างแต่ยกลำแขนไปข้างหน้า กรีดจีบเข้าหาหน้าผาก

       

 

  

 1.2.4.จีบปรกข้าง ลำแขนระดับไหล่ งอข้อศอกตั้งฉาก คว่ำมือจีบกรีดเข้าหาหน้าผาก

 

2. กิริยาศัพท์

หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น

3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด

หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์

ที่มา : //www.youtube.com/watch?v=ndJACpdEnms&spfreload=5