ขลุ่ยเพียงออ
ส่วนต่างๆ ของขลุ่ยเพียงออ
1. ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น
2. ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง
3 รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง
4. รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย
5 รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้
ุ6 รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ
7 รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย
8 ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยเพียงออ ไล่ไปตั้งแต่ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก)( ตัวย่อ - ด ร ม ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2)
วิธีการบำรุงรักษา ดังนี้
1. ก่อนหรือหลังเป่าขลุ่ยควรทำความสะอาดโดยการขัดเช็ดทุกครั้ง แต่ห้ามนำไปล้างในอ่างน้ำ หรือตากแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดการยืดหรืดหดตัวได้ อันเป็นสาเหตุทำให้เสียงขลุ่ยเปลี่ยนไป ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ด เพื่อฆ่าเชื้อบริเวณที่เป่าด้วย
2. อย่าใช้ขลุ่ยร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้
3. อย่าให้ตกหล่น เพราะขลุ่ยนี้ทำด้วยไม้หรือพลาสติกอาจแตกหักได้
4. ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ อย่าไปตกแต่งรูขลุ่ยเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนได้
5. หลังการใช้ควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกัน ฝุ่นละออง แมลงหรือสัตว์เล็กๆเข้าไปอาศัย