สี

   สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น 

 สีเป็นปรากฏการณ์ของแสงที่ส่องกระทบวัตถุ สะท้อนเข้าสู่ตามนุษย์

          

สีและการนำไปใช้  

             

          วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ

  - สีวรรณะร้อน  ( Warm Tone ) ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น 

                     สีแดง                 กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา

                    สีเหลือง               สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส

                    สีส้ม                    ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว

- สีวรรณะเย็น (Cold Tone ) ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น 

                    สีน้ำเงิน สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน

                    สีเขียว ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น

                    สีม่วง ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม

                    สีขาว สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา

                    สีดำ เศร้า ความตาย หนัก

                                                                                                                                                                           

               ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด

               สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ

               สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น

              สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity) 

              สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง 

                    น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น

น้ำหนักของสี

วงจรสีและสีวรรณะร้อน

วงจรสีและสีวรรณะเย็น

                บริเวณว่าง (Space) หมายถึง บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว 

                พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย 

                                                      การผสมสีจากแม่สี                                            

แม่สี มีสามสี ได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน

                    สีแดง+สีเหลือง             = สีส้ม

                    แดง+น้ำเงิน                 = ม่วง

                    เหลือง + น้ำเงิน             = เขียว

การผสมสีของแม่สีหลัก ขั้นที่ 2

                    แดง + ส้ม                 = แดงส้ม

                    แดง + เขียว                 = น้ำตาล

                    แดง + ม่วง                 = ม่วงแดง

                    น้ำเงิน + ส้ม                 = น้ำตาล

                    น้ำเงิน + เขียว             = น้ำเงินเขียว

                    น้ำเงิน + ม่วง                 = น้ำเงินม่วง

                    เหลือง + ส้ม                 = ส้มเหลือง

                    เหลือง + เขียว             = เขียวเหลือง

สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีหลักกับสีขั้นที่ 2 ถือเป็นขั้นที่ 3

                    แดง + ขาว = ชมพู

                    แดง + ดำ = ดำอมแดง

                    แดง + เงิน = แดงเมทัลลิค

                    เหลือง + ขาว = ขาวอมเหลือง

                    เหลือง + ดำ = ดำอมเหลือง

                    เหลือง + เงิน = เหลืองเมทัลลิค

                    น้ำเงิน + ขาว = ฟ้า

                    น้ำเงิน + ดำ = ดำอมน้ำเงิน

                    น้ำเงิน + เงิน = น้ำเงินเมทัลลิค

                                                       แม่สีระบบต่างๆ                                                

1.แม่สีจิตวิทยา

แม่สีจิตวิทยา เป็นสีในกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก และมีผลต่อจิตใจของมนุษย์ กล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน

2. แม่สีวิทยาศาสตร์

แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง

3. แม่สีศิลปะ

แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆ ไปซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมากมายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานที่สวยงามได้ แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

                                                     คุณสมบัติของสีน้ำ                                                            

                ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่

                สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย       ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย

คุณสมบัติของสีน้ำ

        1) สีน้ำเป็นสีที่มีลักษณะโปร่งใส เห็นเนื้อสีบางเบา เมื่อระบายสีน้ำลงบนกระดาษจะเห็นความใสของสีบนพื้นผิวกระดาษ

        2) การกระบายสีน้ำจะต้องรู้จักการรอคอยจังหวะเวลา เพื่อกำหนดความชุ่มเปียก ความหมาดของพื้นผิวกระดาษในขณะที่ระบายสี เพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ

        3) เมื่อต้องการให้สีดูสดใสชุ่มฉ่ำก็ให้ระบายสีน้ำสะอาดลงบนพื้นผิวกระดาษก่อนพอหมาด ๆ แล้วจึงลงสี สีที่ลงไปจะซึมเห็นความใสสวยงาม

        4) ส่วนใดของภาพที่สว่างเป็นสีอ่อนก็ผสมกับน้ำมากขึ้น หรือเว้นเป็นที่ว่างขาวไว้

1.ลักษณะโปร่งใส ( Transparent Quality )----- เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

2. ลักษะเปียกชุ่ม ( Soft Quality

----- เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว

----- เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้

4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ ( Advance, Receda )

----- ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก

( Stained Color )

                               คุณสมบัติของสีโปสเตอร์                            

        สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ ต่างๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว