รำแม่บทเล็ก

ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=Vsfb3_N_mEU

         

นารายณ์ปราบนนทุก

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=qi7czmLSKKg

         นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเทวดาทั้งหลาย อยู่ที่เชิงเขาไกรลาศ  เทวดาเหล่านั้นก็มักจะลูบหัวนนทกจนหัวล้าน นนทกจึงเกิดความแค้น เลยไปขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วทำร้ายพวกเทวดาที่มาลูบหัวตน นนทกได้เข่นฆ่าเหล่าเทวดาตายนับไม่ถ้วน ทำให้พระอิศวรต้องร้องขอพระนารายณ์ให้มาช่วยปราบนนทกให้

        พระนารายณ์จัดการกับนนทก โดยการจำแลงองค์เป็นนางเทพอัปสรดักอยู่ตรงทางที่นนทกเดินผ่านเป็นประจำ ฝ่ายยักษ์นนทกเมื่อได้เห็นนางจำแลงจึงเกิดความหลงและเข้าไปเกี้ยวพาราสี นางจำแลงแสร้งทำยินดี โดยยื่นข้อเสนอว่าให้นนทกร่ายรำตามนางทุกท่าแล้วจะยินดีผูกมิตรด้วย และแล้วยักษ์นนทกก็ทำตามนาง ด้วยท่ารำตามกลอนว่า

                                                              เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า            สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน

                                                ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน                            กินรินเรียบถ้ำอำไพ

                                                อีกช้านางนอนภมรเคล้า                           ทั้งแขกเต้าผาลาเพียงใหล่

                                                เมขลาโยนแก้วแววไว                             มยุเรศฟ้อนในอำพร

                                                ยอดตองต้องลมพรหมนิมิตร                      ทั้งพิศมัยเรียงหมอน

                                                ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร                             พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์

                                                ฝ่ายว่านนทกก็รำตาม                             ด้วยความพิศมัยไหลหลง

                                                ถึงท่านาคาม้วนหางวง                             ชี้ตรงถูกเพลาทันใด

            โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นเล่ห์กล จนกระทั่งถึงท่านาคาม้วนหางนิ้วเพชรของนนทกชี้ไปที่ขาของตัวเอง ขานนทกก็หักลงทันใด นนทกล้มลง ทันใดนั้น นางแปลงกลายเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้

            ก่อนตาย นนทกอ้างว่าพระนารายณ์มีหลายมือตนสู้ไม่ได้ พระนารายณ์จึงให้คำสัตย์ว่า ให้นนทกไปเกิดใหม่ มีสิบเศียรสิบพักตร์ยี่สิบมือ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีอาวุธนานาชนิดครบทุกมือ

            ส่วนพระนารายณ์จะไปเกิดเป็นมนุษย์มีสองมือและตามไปฆ่านนทกให้ได้ นนทกต่อมานนทกไปเกิดเป็นเปรตอยู่ที่เขาของพระอิศวรมีกระดูกยื่นออกมาจากศีรษะและใช้เส้นเอ็นของตนเล่นศอจนพระอิศวรลงมานนทกจึงขอพรให้ตนไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ตามคำของพระนารายณ์พระอิศวรจึงให้พรแล้วให้นนทกไปจุติในครรภ์พระนางรัชดา มเหสีท้าวลัสเตียน เจ้ากรุงลงกา เกิดมาเป็นโอรสนามว่า " ทศกัณฐ์ "

---------------------------------------------------------------------------------------

รำแม่บทเล็ก

ชื่อ                             รำแม่บท

ประเภทการแสดง         รำ (รำคู่)

ประวัติที่มารำแม่บท 

                รำแม่บทเล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า แม่บทนางนารายณ์ มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏอยู่ในระบำเบิกโรง ชุดนารายณ์ปราบนนทุก และมีการสืบทอดต่อกันมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในกลอนบทละครความพิสดารเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1  จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเบิกโรงละครหลวงไว้เป็นตำนานว่า

                                    “เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก

                                    เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา

                                    เบิกโรงงานการเล่นเต้นรำ

                                    สำหรับโรงนางฟ้อนละครใน

                                    มีทีท่าต่าง ๆ อย่างนารายณ์

                                    มีชื่อเรียกท่าไว้ให้ศิษย์จำ

                                    บัดนี้เราได้รำทำบท

                                    เบิกโรงละครก่อนเล่นงาน ในต้นไตรดายุคโบราณว่า

                                    ครั้งกรุงศรีอยุธยาเอามาใช้

                                    ที่เริ่มมีพิธีทำเป็นการใหญ่

                                    แสดงให้เห็นครูผู้สอนรำ

                                    เยื้องกรายโดยนิยมคมขำ

                                    จะได้ทำให้ต้องแก่คลองการ

                                    ให้ปรากฏโดยแสดงแถลงสาร

                                    พวกเราท่านจงเป็นสุขทุกคน เอย”

            รำแม่บท ถือได้ว่าเป็นแม่แบบของกระบวนท่าในรูปแบบการแสดงของนาฏศิลป์ไทยที่มีหลักฐานว่ามีการสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณ แต่ในกระบวนการสืบทอดทางการปฏิบัตินั้นไม่ปรากฏผู้สืบทอดกระบวนท่ารำที่ชัดเจน

ในปีพุทธศักราช 2498  เมื่อกรมศิลปากรเรียนเชิญท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี มาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทในการประดิษฐ์กระบวนท่ารำสำหรับการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรำแม่บทนั้น ท่านได้เรียบเรียง และประดิษฐ์กระบวนท่ารำประกอบบทขับร้องได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม แต่ยังคงท่ารำตามรูปแบบมาตรฐานที่สวยงามไว้

รูปแบบ และลักษณะการแสดง

       รำแม่บท เป็นการรวบรวมท่ารำในเพลงช้า เพลงเร็ว ซึ่งเป็นแม่แบบของการฝึกหัดมาเรียงร้อยให้เป็นกระบวน โดยการตั้งชื่อท่ารำ และผูกเป็นบทกลอน นับเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการเรียนเพลงช้า เพลงเร็ว เพื่อให้ผู้เขียนมีความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ นอกจากใช้เป็นแบบฝึกหัดแล้ว เขามักจัดให้ละครตัวเอก เช่น ตัวนายโรง และตัวนาง คือ พระหนึ่ง นางหนึ่ง ของคณะละครโรงนั้น ๆ ออกมารำอวดให้ดูเป็นแบบฉบับ เพื่อดูว่าศิลปินคนใดในคณะใดจะแสดงท่ารำนั้น ๆ ได้ถูกต้องสวยงาม และถูกต้องตามแบบแผน ตลอดจนความสามารถเชื่อมท่าจากท่าหนึ่งไปสู่ทาหนึ่งได้อย่างละเมียดละไมกลมกล่อม ตัวละครผู้ใดรำแม่บทนี้ได้ดี ก็ยกย่องกันว่าเป็นศิลปินผู้มีฝีมือเอก ท่ารำแม่บทนี้มีบทร้องอยู่ 2 อย่าง บทร้องที่ใช้รำดูกันโดยทั่วไปอย่างย่อนั้นมีอยู่ 18 ท่าด้วยกัน ดังนี้

ลดนตรีและเพลงประกอบการแสดง 

       การบรรเลงในการรำแม่บทเล็กนั้น ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง แล้วขับร้องด้วยเพลงชื่อ ชมตลาด และจบท้ายด้วยเพลงรัว หรือเพลงเร็วและเพลงลา หรือบางครั้งอาจจบด้วยเพลงต้นวรเชษฐ์แล้วต่อด้วยเพลงเร็วและเพลงลาก็ได้ ทั้งนี้สุดแต่ผู้รำจะเห็นสมควร

บทร้อง

-  ปี่พาทย์ทำเพลงรัว -

- ร้องเพลงชมตลาด -

       เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า             สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน      

                                            ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน                        กินรินเลียบถ้ำอำไพ

                                                                         - ปี่พาทย์รับเพลงชมตลาด -

                                            อีกช้านางนอนภมรเคล้า                     แขกเต้าผาลาเพียงไหล่        

                                            เมขลาโยนแก้วแววไว                        มยุเรศฟ้อนในอัมพร

 - ปี่พาทย์รับเพลงชมตลาด -

                                            ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต                 อีกทั้งพิศมัยเรียงหมอน              

                                            ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร                         พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์

                                                                      - ปี่พาทย์รับเพลงชมตลาด -

- ดนตรีบรรเลงเพลงเร็ว และเพลงลา -

                                                           

ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=yRwrJg6oLV8

 ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=VkEHafkh3sE

        เพลงชมตลาด เป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงของตัวละครที่อยู่ในอารมณ์สนุกสนานรื่นเริง หรือใช้ในโอกาสบรรยายความงามต่าง ๆ เพลงชมตลาดจะมีลักษณะแปลกกว่าเพลงไทยทั่วไปตรงที่ การเว้นช่วงการตีฉิ่ง จังหวะของการตีจะเป็นการตีในลักษณะช้า 1 คู่ และเร็ว 1 คู่ สลับกันไป