คุณค่าแห่งความซื่อสัตย์ (รักลูก)

วันที่โพสต์: Mar 08, 2013 3:21:48 PM

           คนที่มีความซื่อสัตย์ จะเป็นคนที่ศรัทธาการพูดความจริง ซึ่งทำให้การสื่อสารของเขาเป็นไปอย่าเปิดเผย ไม่พูดโกหก ไม่ขโมย และไม่คดโกงใคร รวมทั้งยังคอยเปิดเผยข้อมูล และเป็นหูเป็นตาในเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลเสียหายต่อส่วนรวม หรือแม้แต่ส่วนตน ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นอันตราย ดังนั้นความซื่อสัตย์ จึงเป็นคุณค่าสำคัญที่พ่อแม่ควรสอนให้ลูกมีติดตัวไว้ค่ะ

แรกเกิด-2 ขวบ

           เด็กเบบี้เป็นวัยที่มีความซื่อสัตย์ที่สุดค่ะ เมื่อต้องการอะไรก็จะแสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมา เช่น ร้องไห้ หัวเราะหรือทำเสียงอู้อ้า แต่ในเด็กวัยเตาะแตะ มักจะบอกสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริง เช่น บอกว่าไม่ง่วงนอน ผ้าอ้อมไม่เปียก สิ่งนี้ไม่ได้แสดงว่าลูกโกหกนะคะ แต่เป็นการฝึกใช้คำศัพท์ เพื่อยืนยันสิ่งที่เขาต้องการ วัยนี้จึงควรเริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก

สร้างคุณค่าแห่งความซื่อสัตย์

           

 พูดความจริง ถ้าลูกบอกในสิ่งที่ไม่เป็นจริง เช่น หนูยังไม่ง่วง คุณต้องบอกลูกว่า "แม่รู้ว่าหนูยังอยากเล่นต่อ แต่แม่เห็นว่าลูกง่วงนอนมากแล้ว"           

 ทำสิ่งที่ลูกหวัง ถ้าลูกบอกว่าหิวแต่คุณเพิ่งจะให้กินข้าว ก็ไม่ควรปฏิเสธหรือห้าม แต่ควรบอกลูกว่า "ลูกเพิ่งกินข้าวไปไม่นาน รอสักพักให้ถึงเวลาอาหารว่างก่อนนะคะ"           

 โกหกเล็ก ๆ ก็คือโกหก สอนให้ลูกรู้ว่าถึงจะเป็นคำโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดอายุ 3-4 ขวบ

           คำโกหกของเด็กวัยก่อนอนุบาลจะแสดงถึงความคาดหวังลึกๆ ของเขา และยังหมายถึงการที่ยังขาดความเข้าใจระหว่างความจริงกับความฝัน เช่น "หนูระบายสีสวยที่สุดในห้อง" "ผมขึ้นเครื่องบินมาแล้ว 25 ครั้ง" ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กอยากจะให้เกิดขึ้นจริงๆ และยังโกหกเพราะกลัวว่าจะโดนดุเวลาทำผิด พ่อแม่จึงควรขจัดความกลัวให้ลูก และสอนให้กล้าที่จะยอมรับความจริง

สร้างคุณค่าแห่งความซื่อสัตย์

           

 ปลูกฝังจิตอาสา เช่น ถ้าลูกเห็นน้ำหกอยู่ คุณก็ต้องสอนให้ลูกเช็ดให้สะอาดถึงแม้ว่าลูกจะไม่ได้เป็นคนทำ เพื่อฝึกให้ลูกเชื่อในการทำความดีโดยไม่หวังผล           

 แยกแยะผิดถูก ชวนลูกเล่นเกมทายผิดถูก เช่น ท้องฟ้าสีเขียว ใช่หรือไม่? เพื่อให้ลูกรู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิด           

 ควรเล่านิทานเรื่อง "เด็กเลี้ยงแกะ" ลูกจะได้เข้าใจว่า การโกหกเป็นสิ่งที่ไม่ดีทำให้คนอื่นเดือดร้อน และไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างอายุ 5-7 ขวบ

           เด็กวัยนี้จะยังไม่ค่อยมีความซื่อสัตย์เท่าไรค่ะ ที่พวกเขาพูดความจริง เพราะว่าพ่อแม่คอยบอกว่าพูดโกหกไม่ดี และยังชอบพูดเกินความจริงหรือพูดเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ

           พ่อแม่จะต้องช่วยลดความรู้สึกอึดอัดใจของลูกที่จะต้องพูดความจริง และคอยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ในครอบครัวด้วยค่ะ

สร้าง คุณค่าแห่งความซื่อสัตย์

            

 เป็นแบบอย่างความซื่อสัตย์ ทั้งเรื่องยอมรับผิดถ้าคุณผิดนัดเพื่อน หรือการคืนเงินที่ทอนเกินมา            

 ขอบคุณที่พูดความจริง เมื่อลูกพูดความจริงกับคุณในเรื่องที่ลำบากใจ เช่นทำจานแตก หรือสอบตก ก็ควรขอบคุณลูก เพื่อให้รู้ว่าการพูดความจริงเป็นสิ่งที่ดีค่ะ            

 รหัสความซื่อสัตย์ ควรมอบหมายงานง่าย ๆ ให้ลูกทำ เช่น เก็บของเล่น เมื่อคุณถามลูกว่า "วันนี้ลูกทำงานเสร็จหรือยัง" ถ้าลูกบอกว่า "เสร็จแล้วครับ"ก็ควรเชื่อลูกว่าลูกพูดความจริง           ความซื่อสัตย์ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ดี อย่าละเลยที่จะปลูกฝังคุณค่านี้ให้ลูกนะคะ

 

ฉบับที่ 328 พฤษภาคม 2553