ระบำมฤคระเริง

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=uYY1ufTJ-wM

ความเป็นมา

       มฤคระเริง หรือ ระบำกวาง  เป็นชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นแสดงเนื่องในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศสหภาพพม่า เมื่อปีพุทธศักราช 2498 โดยจัดให้มีการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนลักนางสีดา มีหมู่ระบำกวางจะออกมาร่ายรำ    เพื่อความสวยงามก่อนที่กวางทอง     ( มารีศแปลงเป็นกวางทอง ) จะออกมาล่อให้นางสีดาเห็น และเกิดความใหลหลง ขอร้องให้พระรามไปจับมาให้ เมื่อพระรามตามไป      ทศกัณฐ์ได้แปลงตนเป็นฤษี ลักนางสีดาไปกรุงลงกา 

ลักษณะและรูปแบบการแสดง

       ระบำมฤคระเริง เป็นการแสดงประเภทระบำที่เลียนแบบท่าทางของกวาง ลักษณะการแสดงมี 2 แบบ คือ

                แบบที่ 1 เป็นการแสดงประกอบการแสดงโขน ตอนลักนางสีดา และละครเรื่องตอนท้าวทุษยันต์ตามกวาง และเรื่องสุวรรณสาม

                แบบที่ 2 เป็นระบำเบ็ดเตล็ด

ดนตรีและทำนองเพลง

       เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ผู้คิดประดิษฐ์ทำนองเพลง มฤคระเริง เป็นเพลงประเภทสองชั้น คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้แต่งทำนองเพลงประกอบท่ารำ ของหมู่กวางอย่างสนิทสนมกลมกลืน

           โน้ตเพลงระบำมฤคเริง โดยนายชุมพล ปัญจะ

            ทำนองขึ้นต้น

 

        สองชั้น

 

        ชั้นเดียว

ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

      ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำกวางคือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์

โอกาสที่ใช้ในการแสดง

      ระบำมฤคระเริง ใช้แสดงได้ 2 โอกาสคือ

            1)  ระบำมฤคระเริง หรือ (ระบำกวาง) ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา ใช้ประกอบการแสดงละครรำ เรื่อง  ศกุนตลา และละครรำเรื่อง  พระสุวรรณสาม 

            2)  ใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ดในงานรื่นเริงต่างๆ การแต่งกายเลียนแบบกวาง

        

   

ในปัจจุบันการแสดงโขนตอนลักสีดา จะไม่มีหาระบำกวางออกมา จะมีแต่กวางทองออกมา

รำ ล่อนางสีดาเพียงตัวเดียวเท่านั้น สำหรับระบำมฤคระเริงต่อมาได้นำไปใช้ประกอบการแสดงละครรำ เรื่องศกุนตลา ตอนท้าวทุษยันต์ตามกวาง และละครรำ เรื่องสุวรรณสามจากนิทานเรื่องสุวรรณชาดก